วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

กังหันลม

อุปกรณ์

- กระดาษ

- ลูกปัด

- ลวด

- ที่เจาะรู (วงเวียน,เข็มกลัด)

- ก้านลูกโป่ง

วิธีทำ
1. ตัดกระดาษให้ได้รูปสี่เหลียมจตุรัส
2. พับให้เป็นสามเหลียมด้านตรงข้ามกันสองครั้ง จะได้รอยกากบาท
3. ตัดตามรอยพับขึ้นมา3ใน4ส่วน
4. เจาะรูตรงกลาง และ มุมกระดาษตามที่วงกลมสีดำไว้

5. นำลวดทิ่มผ่านรูกลางขึ้นมา ใส่ลูกปัด 1 ลูกลงไป

6. จับปลายกระดาษที่เจาะรูจิ้มผ่านลวดตรงกลาง ต้องใช้นิ้วมากดตรงกลางด้านบนไว้  ไม่งั้นมันจะเด้งหลุดออก  ไล่ไปจนครบสี่ด้าน

7. จากนั้นใส่ก้านลูกโป่งที่ตัดมาเล็กๆ ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ตามด้วยลูกปัด

8. ดัดลวดลงมาเพื่อไม่ให้หลุด

9. ลวดที่เหลือด้านหลัง ใส่ลูกปัดก่อน ตามด้วยหลอดยาว  แล้วดัดลวดตรงปลายส่วนที่เหลือขึ้นมา พันเก็บไว้ให้สวยงาม

10. ดัดลวดตรงคอกังหันลงตามรูป เสร็จแล้ว!!!!
           สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์กังหันลมนี้  เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานลม  โดยกังหันลมเป็นเครื่องจักรกลที่สามารถรับพลังงานจลน์ จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลได้ จากการนำพลังงานกลมาใช้โดยตรง และโดยอ้อม


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 14 ตุลาคม 2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
           อาจารย์ให้นำเสนอสื่อของเล่นทางวิทยาศาสตร์  โดยบอกถึงวิธีการทำและวิธีการเล่นของ  โดยอาจารย์จะคอยให้คำแนะนำถึงของเล่นแต่ละชิ้น  และให้บอกว่าของเล่นนั้นๆเด็ฏได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง  
             ยกตัวอย่างของเล่นที่เพื่อนนำมาเสนอ
-  กังหันลม
-  ไม้ไอศครีมหรรษา
-  ลูกโป่งหรรษา
-  โทรศัพท์วิทยุ

การนำไปประยุกต์ใช้
            นำข้อเสนอแนะในการทำสื่อไปปรับใช้ในการทำสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยในอนาคต  และได้รู้วิธีการทำของเล่นใหม่ ๆ เพื่อทำให้เกิดความหลากหลายในการทำสื่อมากยิ่งขึ้น

การประเมิน
            ตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ  และฟังอาจารย์ให้คำแนะนำ
            เพื่อน : มีความกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรม
            อาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำสื่อเป็นอย่างดี  ซักถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.
สัปดาห์สอบกลางภาค

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 30 กันยายน 2557  เวลา 14.10 - 17.30 น.

เข้าร่วมอบรมโครงการ "จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง" จึงไม่มีการเรียนการสอน

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 23 กันยายน 2557  เวลา 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
              เริ่มต้นด้วยการทำกิจกรรมนี้ไปสอนกับเด็ก เด็กจะได้สร้างผลงานด้วยตนเองตามทฤษฎี Constructivism เป็นปรัชญาการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อที่ว่าเด็กสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง


นำเสนอบทความ
เลขที่ 3 นางสาวนภาวรรณ กรุดขุนเทียน
นำเสนอเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ดและไก่
ผู้เขียน ครูลำพรรณี มืดขุนทด
เด็กเรียนรู้ผ่านนิทาน เรื่อง หนูไก่คนเก่ง มี 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเด็กร้องเพลงไก่และทำท่าทางประกอบอย่างอิสระ
ขั้นที่ 2 สนทนาตั้งคำถามกับเด็ก
ขั้นที่ 3 ให้เด็กๆวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำพูดที่เด็กบอกลงภาพนั้นๆ

เลขที่ 4 นางสาวสุธาสินี ธรรมานนท์
นำเสนอเรื่อง สร้างแนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
ผู้เขียน ดร.เทพปัญญา พรหมขัติแก้ว
1.ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องรอบๆตัว
2.ออกไปหาคำตอบพร้อมๆกับเด็ก
3.เด็กเอาสิ่งนั้นมาตอบคำถามของเขาเอง ครูก็ช่วยเสริมเนื้อหาเข้าไป
4.เอาสิ่งนี้มาให้เพื่อนช่วยคิด
5.นำสิ่งนี้ไปเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์

เลขที่ 5 นางสาวนฤมล อิสระ
นำเสนอเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
           วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสะบาย

เลขที่ 7 นางสาวยุพดี สนประเสริฐ
นำเสนอเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร
           เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย กิจกรรม ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย จะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ”
ต่อมาอาจารย์ได้สอนเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อหลักๆ ดังนี้
         - ความหมายทักษะการสังเกต
         - ความหมายทักษะการจำแนก
         - ความหมายทักษะการวัด
         - ความหมายทักษะการสื่อสาร
         - ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
         - ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
         - ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
         - ความหมายทักษาะการคำนวณ

การนำมาประยุกต์ใช้
            เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการสอนในอนาคตได้  ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ที่มีความจำเป็นสำหรับเด็ก  เพราะและสิ่งที่เต่ล่ะกลุ่มได้นำมาเสนอนี้ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และจะทำให้เด็กมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

การประเมิน
             - ตนเอง ตั้งใจเรียนบ้าง คุยกันบ้างในระหว่างที่อาจารย์สอน  เเต่งกายเรียบร้อย
            - เพื่อน คุยกันเสียงดังบ้าง แต่ก็ช่วยกันตอบคำถาม เเต่งกายเรียบร้อย  มีการจดบันทึก
            - อาจารย์ผู้สอน มีการสอนเนื้อหาได้เข้าใจ และมักจะใช้คำถามปลายเปิดในการถาม แล้วให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น