วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย : การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ชื่อผู้แต่ง : เอราวรรณ  ศรีจักร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
           เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอน  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะ  แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
           1.เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
           2.เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

กลุ่มตัวอย่าง
          นักเรียนชาย - หญิง  อายุระหว่าง 4 - 5 ปี  ชั้นอนุบาล  2 โรงเรียนอนุบาลธนินทร  จำนวน 15 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ
          ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ การสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อสาร  และการลงความเห็น
          ชุดแบบฝึกทักษะ  ที่เน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้  จำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต  พืช  สัตว์  และโลกของเรา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์  โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้
          2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
          3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

การดำเนินงานวิจัย
          ดำเนินการเป็นเวลา 10 สัปดาห์  แบ่งเป็นการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาตร์ 2 สัปดาห์  คือ  สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10  สัปดาห์ละ 4 วัน
          วันจันทร์  เรื่องการสังเกต
          วันอังคาร  เรื่องการจำแนกประเภท
          วันพุธ  เรื่องการสื่อสาร
          วันศุกร์  เรื่องการลงความเห็น
และสำหรับการทดลอง 8 สัปดาห์  แบ่งเป็นสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที  ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

หลักการจัดกิจกรรม
          1. กิจกรรมนี้จัดในชวงกิจกรรมเสริมประสบการณ
          2. การปฏิบัตกิิจกรรมดําเนินตามลําดับขนตอนดั้งนี้
                2.1 ขั้นนํา
                       เตรียมเด็กนักเรียนใหพรอมเรียนโดยจัดกิจกรรมตางๆ เชน การสนทนา เลานิทาน รองเพลง ปริศนาคําทาย เพื่อนําเขาสูบทเรียน ครูบอกจุดมุงหมายการเรียน
                2.2 ขั้นสอน แบงเปน 2 ตอน
                       ตอนที่ 1 ครูดาเนํ ินกิจกรรมการสอน โดยใชกระบวนการจัดกิจกรรมที่เนนการกระทําดวยความคิด การแสดงออก เรียนรูแบบรวมมือ เรียนรูดวยการคนพบ และทราบถึงความกาวหนาในการเรียนรูของตนเอง ซึ่งในการเรียนรูแตละเรองื่ เด็กจะไดเขารวมกิจกรรมการนําเสนอผลงาน การประเมินการเรียนรูรวมกับครูโดยครูเปนผูประเมินหรือตงคั้ ําถามใหเด็กประเมินตนเองและเพื่อน
                        ตอนที่ 2 ทําชดแบบฝกทักษะตามมโนทศนของเรื่องที่เรียน 
                 2.3 ขั้นสรุป
                        เด็กและครูร่วมกันสรุปมโนทัศนเรื่องที่เรียนหรือนําเสนอผลงานในแบบฝกทักษะวิทยาศาสตรดวยกิจกรรมอยางใดอยางหนึ่ง เชน ตอบคําถาม สาธิต หรือเสนอผลงาน


สรุปผลการวิจัย
          หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น  และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจำแนก

สรุปโทรทัศน์ครู

สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ 
ตอนที่ 4 นวัตกรรมมาทาลโปรแกรม
         นวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ "มาทาลโปรแกรม" ให้เด็กได้สัมผัสโลกแห่งความจริงผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ให้เด็กได้แยกแยะสิ่งต่าง ๆ รู้จักการจับคู่ จับกลุ่ม  เพื่อนนำไปใช้ประโยชน์

หน่วย ชุมชนของเรา
ขั้นตอนการสอน
         1. เริ่มจากการสนทนาพูดคุยถามความรู้เดิมจากการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กของเด็ก  เช่น เด็ก ๆ เดินทางจาบ้านมาโรงเรียน  เด็กๆได้เจออะไรบ้าง
         2. หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ นำบ้านของตนเองที่สร้างมาคนละ 1 หลังจากบ้าน  มารวมกันเป็นชุมชน
         3. ให้เด็ก ๆ รู้จักกับอุปกรณ์ต่างที่คุณครูนำมาให้ เช่น ตะเกียบ บล็อค เพื่อนำมาสร้างเป็มชนจำลองของเด็ก ๆ 
         4. คุณครูให้ใช้กล่องนมในการจำลองเป็นต้นไม้  โดยให้เด็ก ๆ เลือกหยิบกล่องนมไปวางที่บริเวณบ้านของตนเอง
         5. ให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเอง  เช่น  บ้านของหนูสามารถไปหาใครได้บ้าง มีธรรมชาติอะไรบ้าง มีต้นไม้กี่ต้น
         6. คุณครูใช้คำถามปลายเปิดถามเด็ก ๆ ว่า   ต้นไม่มีประโยชน์อย่างไร  ถ้าไม่มีต้นไม้แล้วจะเป็นอย่างไร  
         7. คุณครูปลูกฝังให้เด็กรู้จักรักต้นไม้ รักป่า รักธรรมชาติ  

ผลดีของการทำกิจกรรม
          เด็กได้รู้จักการจำแนกสิ่งของต่าง ๆ ออกจากกัน การจัดหมวดหมู่ประเภทของสิ่งของ รู้จักธรรมชาติรอบตัว การเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้เด็กเกิดความสามัคคีกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกัน มีการดูและกัน การยอมรับซึ่งกันและกัน รู้จักกฎกติกา การทำงานร่วมกัน 

เป้าหมายของครู
          1. ความพร้อมของเด็กในการดำเนินชีวิตให้สามารถดูแลตัวเองได้
          2. สภาพจิตใจให้อยู่ที่ไหนก็สามารถมีความสุขได้  การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
          3. รู้จักการสังเกต  เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวได้  ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
           ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่ยังไม่ได้รายงานแผนการสอนออกมานำเสนอต่อจากสัปดาห์ที่แล้วซึ่งมีด้วยกันอยู่ 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 2 หน่วยนกหงษ์หยก  (แผนวันอังคาร)  
กลุ่มที่ 8 หน่วยสับปะรด  (แผนวันพุธ) 
กลุ่มที่ 9 หน่วยส้ม  (แผนวันพฤหัสบดี) 
           เมื่อรายงานแผนการสอนเสร็จก็ต่อด้วยการนำเสนอสรุปงานวิจัย  และสรุปโทรทัศน์ ดังนี้
-  เรื่องรวมสีน้ำยาล้างจาน
-  เรื่องสร้างพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง 5
-  เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เรื่องดินน้ำมันลอยได้อย่างไร
หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนการทำไข่เทอริยากิ
ความรู้ที่ได้รับ
          สามารถนำข้อชี้แนะที่อาจารย์ให้ในการทำแผนแต่ละวันมาปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคต
  ทั้งยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นจากการนำเสนอโทรทัศน์ครูของเพื่อน  และยังได้รู้วิธีการทำไข่ทาโกยากิแบบง่าย ๆ ที่สามารถนำไปสอนเด็กทำในอนาคตได้

การประเมิน
        ตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ  และจดบันทึกตามที่อาจารย์ให้คำแนะนำ  มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
        เพื่อน : ตั้งใจฟัง มีการจดบันทึกตาม มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม  ในความร่วมมือในการเรียน
        อาจารย์ : ใช้คำถามปลายเปิด  เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน  ให้คำแนะนำในการเขียนแผนการสอนอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอการสอน  ตามแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่ได้ทำไว้  ซึ่งมีหน่วยต่าง ๆ ดังนี้
     กลุ่มที่ 1 หน่วยผลไม้ (แผนวันจันทร์)
     กลุ่มที่ 2 หน่วยนกหงส์หยก (แผนวันอังคาร)
     กลุ่มที่ 3 หน่วยข้าวโพด (แผนวันพุธ)
     กลุ่มที่ 4 หน่วยแตงโมง (แผนวันพฤหัสบดี)
     กลุ่มที่ 5 หน่วยกล้วย (แผนวันศุกร์)
     กลุ่มที่ 6 หน่วยช้าง (แผนวันจันทร์)
     กลุ่มที่ 7 หน่วยผีเสื้อ (แผนวันอังคาร)
     กลุ่มที่ 8 หน่วยสัปปะรด (แผนวันพุธ)
     กลุ่มที่ 9 หน่วยส้ม (แผนวันพฤหัสบดี)
ในวันนี้มีการนำเสนอเพียง 6 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 2 หน่วยนกหงส์หยก,  กลุ่มที่ 8 หน่วยสัปปะรด, กลุ่มที่ 9 หน่วยส้ม จะมีการนำเสนอในสัปดาห์หน้า

 การนำไปประยุกต์ใช้
         นำข้อเสนอแนะที่อาจารย์ให้ในแต่ละกลุ่ม มาปรับปรุงแก้ไชแผนการสอนของตนเองให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

การประเมิน
         ตนเอง : มีการเตรียมตัวสำหรับการนำเสนอ  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอและฟังอาจารย์
         เพื่อน : มีการเตรียมตัวนำเสนอ มีข้อผิดพลาดในการนำเสนอบ้าง ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี
         อาจารย์ : ให้ข้อเสนอแนะในการเขียนแผน  และการสอนตามแผน  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ได้อธิบายวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง  โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
1.สาระที่ควรเรียนรู้  ประกอบด้วย
        - ธรรมชาติรอบตัว
        - สภาพแวดล้อมและบุคคล
        - ตัวเด็ก
        - สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 
2.เนื้อหา 
3.แนวคิด
4.ประสบการณ์สำคัญ
5.บูรณาการรายวิชา
6.เว็บกิจกรรม 6 กิจกรรม
        6.1กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        6.2กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
        6.3กิจกรรมเสรี
        6.4กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        6.5การเล่นกลางแจ้ง
        6.6เกมการศึกษา
7.กรอบพัฒนาการ
8.วัตถุประสงค์

การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปปรับปรับแก้ไขให้เหมาะสมกับพัฒนาการ  และความต้องการของเด็กปฐมวัยได้

การประเมิน
          ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย  และจดบันทึกตาม
          เพื่อน : ตั้งใจฟังอาจรย์ จดบันทึก ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
          อาจารย์ : ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษามีส่วมร่วมในการเรียน  มีการสอนที่เป็นขั้นตอนอย่างดี

ความลับของอากาศ



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 28 ตุลาคม 2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์แบบต่าง ๆ เช่น
ดอกไม้บานลอยน้ำ
         ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้แล้วพับไว้ให้เป็นสี่เหลี่ยม จากนั้นนำไปลอยน้ำจะทำให้กระดาษที่ถูกพับไว้บานออก  เพราะน้ำได้ซึมเข้าไปที่บริเวณภายในของกระดาษทำให้กระดาษบานออกได้

ขวดน้ำต่างระดับ
         
           การทดลองนี้จะทำให้รู้ถึงแรงดันน้ำ หากรูขวดอยู่สูงน้ำจะไหลออกมาไม่ได้ไกล  แต่ถ้ารูขวดอยู่ต่ำก็จะยิ่งทำให้น้ำไหลออกมาได้ไกลขึ้น

น้ำจากสายยาง
           เป็นการทดลองของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ผ่านทางสายยาง

ดินน้ำมันลอยน้ำ
          ครั้งแรกอาจารย์ได้ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันเป็นทรงกลม  แล้วลองนำมาลอย  ผลคือไม่สมมารถลอยได้  อาจารย์จึงให้คิดหาวิธีที่จะทำให้ดินน้ำมันลอยได้  คือต้องปั้นดินน้ำมันให้มีทรงคล้ายเรือจึงจะทำให้ดินน้ำมันนั้นสมารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้

           หลังจากทำการทดลองเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์  หน่วย สัตว์        
การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำการทดลองทางวิทยาศาตร์ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน  และการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้

การประเมิน
          ตนเอง : ตั้งใจทำการทดลอง และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย
          เพื่อน : มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมการทดลองเป็นอย่างดี
          อาจารย์ : ให้คำแนะนำ และคำอธิบายการทดลองได้อย่างเข้าใจ  เป็นการสอนวิทยาศาสตร์ที่ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 21 ตุลาคม 2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.
 
 ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอสื่อสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์  โดยให้อธิบายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์ วิธีการการประดิษฐ์ วิธีการเล่น และวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้รับจากการเล่น  
         ตัวอย่างเช่น
                - จรวดหลอด  เด็กได้เรียนรู้เรื่องพลังงานลม
                - รถแรงดันลม  เด็กได้เรียนรู้เรื่องแรงดันอากาศ
                - ตุ๊กตากระดาษ เด็กได้เรียนรู้เรื่องจุดสมดุล
                - เสียงพาเพลิน  เด็กได้เรียนรู้เรื่องเสียง
และอาจารย์ได้สอนการประดิษฐ์ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู เป็นของเล่นตุ๊กตาไต่เชือก โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
      1. แกนทิชชู
      2. กรรไกร 
      3. เชือก
      4. กาว 
      5. กระดาษสี
      6. ปากกาเมจิก

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำของเล่นที่เพื่อนนำเสนอมาปรับให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับ  และปรับให้เหมาะสมกับวัยตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

การประเมิน
          ตนเอง : มีการเตรียมตัวในการนำเสนอ  ตั้งใจฟังเพื่อนและคำแนะนำของอาจารย์
          เพื่อน : เตรียมตัวสำหรับการนำเสนอเป็นอย่างดี  ตั้งใจฟังเพื่อนและอาจารย์ มีคุยบ้าง
          อาจารย์ : ให้คำแนะนำสำหรับของเล่นชิ้นต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุงให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย