วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

ทักษะการแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


            กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยให้เด็กรู้โลกรอบตัวด้วยความเข้าใจคือการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเอง ได้เป็นผู้จัดระบบอุปกรณ์ ทำให้เด็กได้สำรวจ ตั้งคำถาม ใช้เหตุผลและแสวงหาคำตอบจากกิจกรรมทางกายและทางสมอง วิธีการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญต่อคำถามว่า ทำอย่างไร อะไรบ้าง ที่สามารถเรียนรู้ได้ การให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าของเด็กในการสร้างองค์ความรู้ ทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อแสวงหาความรู้ในห้องเรียน

            ผ่านมากิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเน้นอธิบายวิธีการหรือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในด้านต่างๆเช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การวัด การสื่อความหมาย การทดลอง การพยากรณ์ การลงความเห็น การออกแบบการค้นคว้า การตีความผลของการทดลอง (การสรุป) และการอธิบายโครงสร้างจากข้อมูล ความซับซ้อนของกระบวนการ การสังเกตและการทดลอง ทำให้มองเห็นพฤติกรรมของเด็ก เนื่องจากการคิดของเด็กพัฒนาเป็นขั้นตอน ขั้นสุดท้ายของการคิดคือความเข้าใจเป็นนามธรรม เด็กสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเพิ่มความซับซ้อนของการทดลองซึ่งบางครั้งทำให้เพิ่มความเข้าใจจากกิจกรรมการแสวงหาความรู้

             การปฏิรูปการสอนวิทยาศาสตร์ศึกษาได้บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปกับการแสวงหาความรู้ จุดเด่นของการแสวงหาความรู้คือ ความสามารถในการแสวงหาความรู้และการพัฒนาเกี่ยวกับความเข้าใจในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนทุกระดับและทุกจุดมุ่งหมายทางวิทยาศาสตร์จะใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาความสามารถทางการคิดและการกระทำซึ่งประกอบด้วย การตั้งคำถาม การวางแผนและการสืบค้น การใช้เครื่องมือที่เหมาะสม การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีเหตุผลในการสืบค้นหลักฐาน การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างความเข้าในและการเผยแพร่

            ทักษะการแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการค้นหาความรู้ด้วยการลงมือกระทำอย่างเป็นระบบจนเกิดความเข้าใจประกอบด้วย ความสามารถ 5 ด้าน ดังนี้ การตั้งคำถาม การสืบค้น การใช้เครื่องมือเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูลสร้างความเข้าใจและการเผยแพร่ความรู้ที่ค้นพบ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 16 กันยายน 2557  เวลา 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          - ต้นชั่วโมงอาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้ฟัง  แล้ววิเคราะห์เนื้อหาของเพลงนั้น
          - อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน แล้วเลือกเรื่องมาหนึ่งเรื่องเพื่อแตกส่วนประกอบต่าง ๆ
          - เพื่อน2 คนนำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

คนที่ 1 นางสาววีนัส  ยอดแก้ว
นำเสนอเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่?
ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา  เตมียสถิต
        หลักสูตรวิทยาศาสตร์  เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน  ควรจัดกิจกรรมที่สามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ  ครูสามารถนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยไปจัดกิจกรรมบูรณาการได้ในทุกสาระที่ควรเรียนรู้  โดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูตัดอย่างสม่ำเสมอ  

คนที่ 2 นางสาวเจนจิรา  บุตรช่วง
นำเสนอเรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน อาจารย์นิติธร  ปิลวาสน์
         การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพืชชนิดต่าง ๆ พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมง่าย ๆ จากกิจวัตรประจำวัน  เช่น
          1. กิจกรรมประกอบอาหารประเภทผัก  พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วม  ในการใส่ผัก  การปรุงเครื่องปรุงต่าง ๆ และพ่อแม่ควรบอกถึงประโยชน์ของผักนั้น ๆ ด้วย
          2. หัดให้เด็กปลูกพืชง่าย ๆ ที่บ้าน
          3. ให้เด็กมีส่วร่วมในการช่วยเลือกซื้อพันธู์พืชต่าง ๆ จากแหล่งจำหน่าย
          4. พ่อแม่ควรพาลูกไปเที่ยวในที่ที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้  เพื่อเป็นการส่งเสริมความอยากรู้ของเด็ก

              อาจารย์ให้กลับไปดูเรื่องความลับของแสง  แล้วสรุปประเด็นสำคัญ ซึ่งได้ออกมาดังนี้


การนำไปประยุกต์ใช้
             จากที่เพื่อนำเสนอบทความทำให้เราทราบในหลาย ๆ เรื่องมากขึ้น  รวมถึงวิธีการสอนแบบบรูณาการหรือการสอดแทรกวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก

การประเมิน
             ตนเอง : ตั้งใจฟังบทความของเพื่อน  และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
             เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามของอาจารย์  และรู้จักการแก้ปัญหาได้ดี
             อาจารย์ : อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความที่เพื่อออกมานำเสนอ  ใช้การบรรยายและการใช้คำถามปลายเปิด

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 9 กันยายน 2557  เวลา 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

การนำไปประยุกต์ใช้
           นำความรู้ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัย  ให้ตรงตามความต้องการและพัฒนาการของเด็ก  นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ไปปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสอนในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การประเมิน
           ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
           เพื่อน : ตั้งใจเรียน มีคุยบ้างบางกลุ่ม  แต่ก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
           อาจารย์ : ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ร่วมกับการบรรยาย

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 3 กันยายน 2557  เวลา 14.10 - 17.30 น.
กิจกรรมโครงการ "ศึกษาศาสตร์วิชาการ"



กิจกรรมที่เข้าร่วม
          นิทรรศการ  การคิดวิจารณญาณ
          นิทรรศการ  การคิดเป็นระบบ
          นิทรรศการ  การคิดวิเคราะห์
          นิทรรศการ  การคิดสังเคราะห์
          นิทรรศการ  การคิดสร้างสรรค์
          นิทรรศการ  ผลงานการคิด

การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำกิจกรรมในงานไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและออกแบบการสอนเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปตามความต้องการของเด็ก

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 26 สิงหาคม เวลา 14.10 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ


การนำไปประยุกต์ใช้
           นำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดศึกษาเพิ่มเติม  เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความต้องการของเด็ก

การประเมิน         
           ตนเอง : ตั้งใจเรียน ร่วมตอบคำถามบางและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
           เพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์ อาจมีคุยบาง แต่ไม่มาก ให้ความร่วมมือในการเรียนดี
           อาจารย์ : มีเทคนิคต่าง ๆ ในการดึงดูดความสนใจของผู้เรียน  เน้นใช้คำถามปลายเปิด



วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
วันที่ 19 สิงหาคม 2557  เวลา 14.10 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 
           1. อาจารย์แนะแนวการสอนในรายวิชา
           
           คำอธิบายรายวิชา : หลักการและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์    รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สาระการเรียนรู้  การออกแบบและวางแผนกิจกรรมบูรณาการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์  การผลิตสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  การใช้กระบวนการการสืบเสาะหาความรู้  การประเมินผลการเรียนรู้  บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

            ผลลัพธ์การเรียนรู้  แบ่งเป็น 6 ด้าน  ได้แก่
                    - ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                    - ด้านความรู้
                    - ด้านทักษะทางปัญญา
                    - ด้านทักษะควากต์ใช้มสามารถระหว่างบุคคล  และความรับผิดชอบ
                    - ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                    - ด้านการจัดการเรียนรู้

             2.อาจารย์อธิบายการทำแฟ้มสะสมผลงาน  โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์  และเน้นการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ


การนำไปประยุกต์ใช้
             นำแนวทางการสอนที่อาจารย์ให้ไปปรับใช้ในการเรียน  เพื่อให้สามารถเข้าใจเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของรายวิชาได้

การประเมิน
             ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์
             เพื่อน : บางกลุ่มตั้งใจเรียน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม  และบางกลุ่มคุยและเล่นกันบ้าง
             อาจารย์ : กระตุ้นการเรียนของผู้เรียนโดยการใช้คำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดหาคำตอบด้วยตนเอง