วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

ทักษะการแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


            กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยให้เด็กรู้โลกรอบตัวด้วยความเข้าใจคือการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเอง ได้เป็นผู้จัดระบบอุปกรณ์ ทำให้เด็กได้สำรวจ ตั้งคำถาม ใช้เหตุผลและแสวงหาคำตอบจากกิจกรรมทางกายและทางสมอง วิธีการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญต่อคำถามว่า ทำอย่างไร อะไรบ้าง ที่สามารถเรียนรู้ได้ การให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าของเด็กในการสร้างองค์ความรู้ ทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อแสวงหาความรู้ในห้องเรียน

            ผ่านมากิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเน้นอธิบายวิธีการหรือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในด้านต่างๆเช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การวัด การสื่อความหมาย การทดลอง การพยากรณ์ การลงความเห็น การออกแบบการค้นคว้า การตีความผลของการทดลอง (การสรุป) และการอธิบายโครงสร้างจากข้อมูล ความซับซ้อนของกระบวนการ การสังเกตและการทดลอง ทำให้มองเห็นพฤติกรรมของเด็ก เนื่องจากการคิดของเด็กพัฒนาเป็นขั้นตอน ขั้นสุดท้ายของการคิดคือความเข้าใจเป็นนามธรรม เด็กสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเพิ่มความซับซ้อนของการทดลองซึ่งบางครั้งทำให้เพิ่มความเข้าใจจากกิจกรรมการแสวงหาความรู้

             การปฏิรูปการสอนวิทยาศาสตร์ศึกษาได้บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปกับการแสวงหาความรู้ จุดเด่นของการแสวงหาความรู้คือ ความสามารถในการแสวงหาความรู้และการพัฒนาเกี่ยวกับความเข้าใจในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนทุกระดับและทุกจุดมุ่งหมายทางวิทยาศาสตร์จะใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาความสามารถทางการคิดและการกระทำซึ่งประกอบด้วย การตั้งคำถาม การวางแผนและการสืบค้น การใช้เครื่องมือที่เหมาะสม การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีเหตุผลในการสืบค้นหลักฐาน การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างความเข้าในและการเผยแพร่

            ทักษะการแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการค้นหาความรู้ด้วยการลงมือกระทำอย่างเป็นระบบจนเกิดความเข้าใจประกอบด้วย ความสามารถ 5 ด้าน ดังนี้ การตั้งคำถาม การสืบค้น การใช้เครื่องมือเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูลสร้างความเข้าใจและการเผยแพร่ความรู้ที่ค้นพบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น